โครงการประชุมวิชาการเพื่อการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
Symposium on Graduate Student Development

โดย ทีมพัฒนาศักยภาพทางบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โครงการประจำปีงบประมาณ 2566



โครงการ "How startups will drive the global economy in the coming decades."

ผ่านระบบ Zoom Conference

กำหนดการบรรยาย : Tentative schedule

วันที่ 2 กันยายน 2565 เวลา 9.30 - 12.00 น.
September 2, 2012, 09.30-12.00, through an online Zoom conference system

09.30 – 09.50 (am)
ลงทะเบียนเข้าห้องประชุมระบบ Zoom Conference
Registration
09.50 – 10.00 (am)
กล่าวต้อนรับ และเปิดโครงการ โดย คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
Welcoming and opening by Dean of the Graduate School
10.00 – 11.30 (am)
Lecture entitled "How startups will drive the global economy in the coming decades.”
By Mr.Dennis Stephen Cervantes
Director, International Marketing
11.30 (am) -12.00 (pm)
ซักถาม และปิดโครงการ
Q & A and closing
Remark: Change of schedule will be informed ahead.

กำหนดการแจ้งความจำนง : Schedule for reply form

กำหนดส่งแบบตอบรับตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 สิงหาคม 2565 (แบบตอบรับ online)
Within August 31st, 2022

แบบตอบรับเข้าร่วมและแบบประเมินโครงการ : Response form

รายละเอียด

หลักการและเหตุผล : Rationale

ปัจจุบันกระแส Startup เป็นที่นิยมและได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น และหลาย ๆ คนหันมาทำธุรกิจ Startup โดยเฉพาะกลุ่มคน Gen Y เพราะมองว่าธุรกิจ Startup เป็น SMEs ประเภทหนึ่ง ที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการประกอบอาชีพที่น่าสนใจ เพราะสามารถเริ่มต้นโดยใช้เงินลงทุนและแรงงานไม่มาก เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ และสามารถสร้างรายได้ได้อย่างรวดเร็ว การทำให้ธุรกิจ Startup ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ จะเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และยิ่งทุกวันนี้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เดลิเวอรี และบริการด้านการเงินดิจิทัล เติบโตอย่างก้าวกระโดด คาดว่าธุรกิจ Startup จะนำพาซึ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ดียิ่งขั้น ดังนั้น เพื่อให้ทราบนักศึกษา อาจารย์ หรือผู้สนใจทั่วไปจะเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจ Startup ได้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตได้ และเป็นอีกแรงที่ช่วยผลักดันให้สภาพทางเศรษฐกิจดียิ่งขั้นในอนาคตได้อย่างไร

บัณฑิตวิทยาลัยจึงกำหนดจัดโครงการบรรยาย หัวข้อ “How startups will drive the global economy in the coming decades.

Nowadays, the Startup trend is becoming more popular and getting more attention from the new generation. Many, especially the Gen Y group, turn to startup business because startup businesses are viewed as a type of Small and Medium Enterprises (SMEs) that are interesting career options. It can be started with small investment and labor, but heavily relies on creativity to create business opportunities and generate return in a short time. Running Startup Businesses based on technology and new innovations is an important part to create change. Today, e-commerce, delivery and digital financial services have a tremendous growth. It is expected that Startup business will lead to a greater economic expansion. In order to familiarize students, lecturers, or those interested to startup businesses, to the concept of startups, the Graduate School therefore organizes a lecture entitled “How startups will drive the global economy in the coming decades.”

วัตถุประสงค์ : Objectives

  1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบความรู้เกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจ Startup ในอนาคต
    To provide the information on future direction of startup businesses to the participants
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบถึงแนวโน้มการประกอบธุรกิจ Startup ที่ช่วยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ในอนาคต
    To inform the participants about the trends of startup businesses that can drive future economy

รูปแบบกิจกรรม : Activities

การบรรยาย ผ่านระบบ Zoom Conference
Lecture entitled, through an online Zoom conference system

ผู้เข้าร่วมโครงการ : Participants

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกวิทยาเขต และผู้สนใจทั่วไป
graduate students, faculty members, and general audience

วิทยากร : Guest Speaker

Mr. Dennis Stephen Cervantes
Director, International Marketing,
Chemsolve Risk Assessment Consulting Company & Assistant Professor (B.A., UCLA)
College of Commerce & Economics,
Department of International Trade,
Konkuk University, South Korea
Experience/Past work

ผลที่คาดว่าจะได้รับ : Expected outcomes

  1. ผู้เข้าร่วมได้รับทราบความรู้เกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจ Startup ในอนาคต
    Participants are informed about the future direction of startup businesses.
  2. ผู้เข้าร่วมได้รับทราบถึงแนวโน้มการประกอบธุรกิจ Startup ที่ช่วยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ในอนาคต
    Participants are informed of the trends in startup businesses that can drive future economy.

ติดต่อสอบถาม : Contact

ติดต่อสอบถาม

  1. คุณสมศรี หลีวิจิตร อีเมล์ : somsri.l@psu.ac.th โทร. 0-7428-6983
  2. คุณพรพิมล ทองฉิม : Phonpimon Thongchim
    E-mail : phonpimon.d@psu.ac.th Tel. 0-7428-6996
เพิ่มเพื่อน

โครงการ "แนะนำทุนวิจัยมหาบัณฑิต วช. ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2566 "

ผ่านระบบ Zoom Conference

กำหนดการ : Schedule

วันพุธ ที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00-16.00 น.

13.00 – 13.10 น.
เข้าสู่ระบบ Zoom Conference
Meeting ID: 968 2226 9874
Passcode: 256509
13.10 – 13.15 น.
กล่าวเปิดโครงการ โดย รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ
13.15 – 15.00 น.
แนะนำทุนวิจัยมหามหาบัณฑิต วช. ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และซักถาม
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ประสานงานโครงการฯ
15.00– 16.00 น.
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับรุ่นพี่ที่ได้รับทุน ปี 2565
16.00 น.
ปิดโครงการ
หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

กำหนดการแจ้งความจำนง

กำหนดส่งแบบตอบรับภายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ( แบบตอบรับ online )

แบบตอบรับเข้าร่วมและแบบประเมินโครงการ

รายละเอียด

หลักการและเหตุผล : Rationale

ตามที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับสมัครทุนวิจัยมหาบัณฑิต วช. ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2566 ในระดับปริญญาโท ซึ่งสามารถยื่นสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน - 16 ธันวาคม 2565 เวลา 18.00 น. นั้น ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้ทราบข้อมูลต่าง ๆ ของทุนอย่างทั่วถึง และสามารถสมัครขอทุนได้ทันตามวันเวลาที่กำหนด บัณฑิตวิทยาลัยจึงกำหนดจัดจัดกิจกรรมแนะนำทุนวิจัยมหาบัณฑิต วช. ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2566 ขึ้น

วัตถุประสงค์ : Objectives

  1. เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้ทราบข้อมูลต่าง ๆ ของทุนอย่างทั่วถึง
  2. เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้ยื่นสมัครขอทุนวิจัยมหาบัณฑิต วช. ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2566 ได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด

รูปแบบกิจกรรม : Activities

  • การบรรยายโดยวิทยากร และถาม-ตอบ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รับทุน ปีงบประมาณ 2565
  • ผู้เข้าร่วมอบรม : Participants

    1. นักศึกษาระดับปริญญาโท แผนทำวิทยานิพนธ์ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    2. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
    3. ผู้สนใจทั่วไป

    วิทยากร

    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ประสานงานโครงการฯ
    2. อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาที่ได้รับทุนปี 2565
      • รศ.ดร. สุวิทย์ สุวรรณโณ
      • นางสาวสุวนันท์ ชูทุ่งยอ
      • นางสาวปณิชา เดชธนบดินท์

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และวิธีการขอทุนจากแหล่งทุน
    2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถยื่นขอทุนจาก วช. ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด
    3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปปรับใช้ในการเขียนขอทุนจากแหล่งทุนภายนอกอื่นได้

    ติดต่อสอบถาม : Contact

    ติดต่อสอบถาม

    1. คุณสมศรี หลีวิจิตร อีเมล์ : somsri.l@psu.ac.th โทร. 0-7428-6983
    2. คุณพรพิมล ทองฉิม อีเมล์ : phonpimon.d@psu.ac.th โทร. 0-7428-6996
    เพิ่มเพื่อน

    โครงการ "Plagiarism กับ งานวิจัย"

    ผ่านระบบ Zoom Conference

    กำหนดการอบรม

    วันที่1 ธันวาคม 2565 เวลา 9.15 - 12.00 น.

    09.15 – 09.20 น.
    ลงทะเบียนเข้าห้องประชุมระบบ Zoom Conference
    09.20 – 09.30 น.
    กล่าวต้อนรับ และเปิดโครงการ โดย รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ
    09.30– 11.30 น.
    บรรยาย "Plagiarism กับ งานวิจัย" โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    11.30 - 12.00 น.
    ซักถาม และปิดโครงการ
    หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    เอกสารประกอบการอบรม

    กำหนดการแจ้งความจำนง

    กำหนดส่งแบบตอบรับภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 (แบบตอบรับ online)

    แบบตอบรับเข้าร่วมและแบบประเมินโครงการ

    รายละเอียด

    หลักการและเหตุผล

    การค้นคว้าหาข้อมูลในปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น จนทำให้การเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และนำข้อมูลออกมาใช้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่การนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ นั้น หากผู้ใช้ข้อมูลละเลยในการใช้ข้อมูลโดยไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มา ก็อาจทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยมิรู้ตัว ซึ่งการกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย และปัญหาตามมาภายหลังได้

    ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ หรืออื่น ๆ ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามานั้น ได้ใช้ข้อมูลให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักการของการไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานผู้อื่น อีกทั้งเพื่อป้องกันการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บัณฑิตวิทยาลัยจึงจัดโครงการอบรมให้ความรู้ เรื่อง “Plagiarism กับ งานวิจัย”

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในเรื่องการคัดลอกผลงานวิจัย
    2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในการเขียนผลงานวิจัย ได้อย่าง

    รูปแบบกิจกรรม

    บรรยายผ่านระบบ Zoom Conference

    ผู้เข้าร่วมอบรม

    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกวิทยาเขต
    • อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

    วิทยากร

    วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
    รองศาสตราจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในเรื่อการคัดลอกผลงานวิชาการและวรรณกรรม
    2. ผู้เข้าอบรมสามารถใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในการเขียนผลงานวิจัย ได้อย่างถูกต้อง

    ติดต่อสอบถาม : Contact

    ติดต่อสอบถาม

    1. คุณสมศรี หลีวิจิตร อีเมล์ : somsri.l@psu.ac.th โทร. 0-7428-6983
    2. คุณพรพิมล ทองฉิม อีเมล์ : phonpimon.d@psu.ac.th โทร. 0-7428-6996
    เพิ่มเพื่อน

    โครงการ "การเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอผลงานวิจัย"

    ณ ห้องปัณฑิตา บัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 10 อาคาร 2 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) และผ่านระบบ Zoom Conference

    กำหนดการอบรม

    วันที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.

    09.00 – 09.20 น.
    ลงทะเบียนหน้าห้องปัณฑิตา และห้องประชุมระบบ Zoom Conference
    09.20 – 09.30 น.
    กล่าวต้อนรับ และเปิดโครงการ โดย รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ
    09.30 – 11.30 น.
    บรรยาย "การเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอผลงานวิจัย"
    โดย อ.ไอซ์ ดร. สิรวิชญ์ อิทธิโสภณพิศาล สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
    11.30 - 12.00 น.
    ซักถาม และปิดโครงการ
    หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    เอกสารประกอบการอบรม

    กำหนดการแจ้งความจำนง

    กำหนดส่งแบบตอบรับภายในวันที่ 24 มีนาคม 2566 (แบบตอบรับ online)

    แบบตอบรับเข้าร่วมและแบบประเมินโครงการ

    รายละเอียด

    หลักการและเหตุผล

    หลังจากที่ได้ศึกษาค้นคว้า การวิจัย หรือสร้างสิ่งนวัตกรรม ได้ผลงานหรือได้ผลลัพธ์เรียบร้อยแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่จำเป็นเพื่อให้องค์ความรู้หรือข้อมูลใหม่เหล่านั้นได้ถ่ายทอดให้เป็นที่รู้จัก รับรู้ หรือเป็นแหล่งข้อมูลให้ทุกคนได้ศึกษา เพิ่มเติม นั้นก็คือ การเผยแพร่ผลงาน ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการทั้งในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ การนำเสนอข้อมูลในแบบนิทรรศการ (Poster Presentation) หรือการนำเสนอในแบบปากเปล่า (Oral Presentation) ไม่ว่าการเผยแพร่ผลงานรูปแบบใดๆ เจ้าของผลงานจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้การนำเสนอผลงานนั้นเป็นที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้หรือข้อมูลผลงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น เพื่อให้เป็นแนวทางในเตรียมตัวการนำเสนอผลงาน

    บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้กำหนดจัดกิจกรรมอบรม หัวข้อ “การเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงานวิจัย” เพื่อแนะนำการเสนอผลงาน การเตรียมตัวเสนอผลงาน และเพื่อทำให้ตนเองเกิดความมั่นใจ และเตรียมความพร้อมสำหรับการเสนอผลงานให้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แนวทาง และวิธีการเตรียมตัวในการนำเสนอผลงาน
    2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการนำเสนอผลงาน

    รูปแบบกิจกรรม

    บรรยาย
  • ห้องปัณฑิตา บัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 10 อาคาร 2 ศูน์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำนวน 30 ที่นั่ง
  • ผ่านระบบ Zoom Conference
  • ผู้เข้าร่วมอบรม

    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกวิทยาเขต
    • นักศึกษาที่สนใจทั่วไป

    วิทยากร

    วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
    ดร. สิรวิชญ์ อิทธิโสภณพิศาล
    อาจารย์สังกัดสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้แนวทาง และวิธีการเตรียมตัวในการนำเสนอผลงานวิจัยได้
    2. ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการนำเสนอผลงานวิจัยได้

    ติดต่อสอบถาม : Contact

    ติดต่อสอบถาม

    1. คุณสมศรี หลีวิจิตร อีเมล์ : somsri.l@psu.ac.th โทร. 0-7428-6983
    2. คุณพรพิมล ทองฉิม อีเมล์ : phonpimon.d@psu.ac.th โทร. 0-7428-6996
    เพิ่มเพื่อน

    โครงการ "ความรู้พื้นฐานการเขียนผลงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่"

    ณ ห้องปัณฑิตา บัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 10 อาคาร 2 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) และผ่านระบบ Zoom Conference

    กำหนดการอบรม

    วันที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 13.15 - 16.00 น.

    13.15 – 13.25 น.
    ลงทะเบียนหน้าห้องปัณฑิตา และห้องประชุมระบบ Zoom Conference
    13.25 – 13.30 น.
    กล่าวต้อนรับ และเปิดโครงการ โดย รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ
    13.30 – 15.30 น.
    บรรยาย "ความรู้พื้นฐานการเขียนผลงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่"
    โดย ศาสตราจารย์ ดร. ธีระพล ศรีชนะ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเป็นเลิศระบบนำส่งยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    15.30 - 16.00 น.
    ซักถาม และปิดโครงการ
    หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    เอกสารประกอบการอบรม

    กำหนดการแจ้งความจำนง

    กำหนดส่งแบบตอบรับภายในวันที่ 24 มีนาคม 2566 (แบบตอบรับ online)

    แบบตอบรับเข้าร่วมและแบบประเมินโครงการ

    รายละเอียด

    หลักการและเหตุผล

    นักศึกษาระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ที่ศึกษาทั่วไปหรือหรือนักศึกษาที่รับทุนวิจัยหรือทุนการศึกษา จะต้องมีการเผยแพร่ผลงานก่อนสำเร็จการศึกษา เพราะนั้นคือข้อกำหนดที่มหาวิทยาลัยหรือแหล่งทุนได้กำหนดไว้ ดังนั้นเมื่อนักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าผลงานวิจัยเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เมื่อต้องส่งผลงานไปยังวารสารวิชาการต่าง ๆ จะต้องรู้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่วารสารวิชาการกำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถเขียนต้นฉบับเพื่อส่งไปยังวารสารวิชาการต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

    บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้กำหนดจัดกิจกรรมอบรม หัวข้อ “ความรู้พื้นฐานการเขียนผลงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่” เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจในหลักการการเขียนผลงานให้สามารถเผยแพร่ผลงานได้ตามหลักเกณฑ์ที่วารสารวิชาการกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ และหลักการการเขียนผลงานให้สามารถเผยแพร่ผลงานได้อย่างถูกต้อง
    2. เพื่อเพิ่มทักษะในการเขียนผลงาน และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

    รูปแบบกิจกรรม

    บรรยาย
  • ห้องปัณฑิตา บัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 10 อาคาร 2 ศูน์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำนวน 30 ที่นั่ง
  • ผ่านระบบ Zoom Conference
  • ผู้เข้าร่วมอบรม

    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกวิทยาเขต
    • นักศึกษาที่สนใจทั่วไป

    วิทยากร

    วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
    ศาสตราจารย์ ดร. ธีระพล ศรีชนะ
    ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเป็นเลิศระบบนำส่งยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้หลักการการเขียนผลงานให้สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยได้อย่างถูกต้อง
    2. ผู้เข้าอบรมมีทักษะเพิ่มเติมในการเขียนผลงานวิจัย

    ติดต่อสอบถาม : Contact

    ติดต่อสอบถาม

    1. คุณสมศรี หลีวิจิตร อีเมล์ : somsri.l@psu.ac.th โทร. 0-7428-6983
    2. คุณพรพิมล ทองฉิม อีเมล์ : phonpimon.d@psu.ac.th โทร. 0-7428-6996
    เพิ่มเพื่อน

    แจ้ง เลื่อนการจัดกิจกรรม How to check turnitin ตรวจยังไงให้ผ่านตามเกณฑ์ บว.ม.อ. วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม นี้ เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ในจังหวัดสงขลา และพื้นที่ใกล้เคียง

    โครงการ "How To Check Turnitin ตรวจอย่างไรให้ผ่านเกณฑ์ บว. ม.อ."

    ผ่านระบบ Zoom Conference

    กำหนดการอบรม

    วันที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 09.15 - 11.30 น.

    09.15 – 09.20 น.
    ลงทะเบียนเข้าห้องประชุมระบบ Zoom Conference
    09.20 – 09.30 น.
    กล่าวต้อนรับ และเปิดโครงการ โดย รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ
    09.30– 11.00 น.
    "How To Check Turnitin ตรวจอย่างไรให้ผ่านเกณฑ์ บว. ม.อ."
    โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สงวน ลือเกียรติบัณฑิต
    คุณศิรินันท์ ศรีอ่อน
    คุณธีรเดช นพเดช
    11.00-11.30 น.
    ซักถาม และปิดโครงกร
    หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    กำหนดการแจ้งความจำนง

    กำหนดส่งแบบตอบรับตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันที่ 17 ธันวาคม 2565 (แบบตอบรับ online)

    แบบตอบรับเข้าร่วมและแบบประเมินโครงการ

    รายละเอียด

    หลักการและเหตุผล

    ด้วยขณะนี้การค้นคว้าหาข้อมูล หรือการเข้าถึงข้อมูล สามารถทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยขึ้น แต่การนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาจทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยมิรู้ตัว ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดการละเมิดผลงานของผู้อื่น ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงและฟ้องร้องกันในภายหลังได้ อีกทั้งทำให้นักศึกษาไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ เพราะผลงานยังไม่ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาได้แนวทาง และมุมมองการตรวจการคัดลอกผลงานทางวิชาการจากบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงจริยธรรมในการทำผลงานวิชาการ และเพื่อให้นักศึกษาที่ส่งตรวจสอบ Turnitin สามารถตรวจผ่านในครั้งเดียว 100% บัณฑิตวิทยาลัยจึงกำหนดจัดกิจกรรมทางวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง “How To Check Turnitin ตรวจอย่างไรให้ผ่านเกณฑ์ บว. ม.อ.”

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้นักศึกษาได้แนวทางและมุมมองการตรวจจากผู้ตรวจบัณฑิตวิทยาลัย
    2. เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงจริยธรรมในการทำผลงานวิชาการ
    3. เพื่อให้นักศึกษาที่ส่งตรวจ Turnitin สามารถผ่านการตรวจในครั้งเดียว

    รูปแบบกิจกรรม

    การบรรยายให้ความรู้ ผ่านระบบ Zoom Conference

    ผู้เข้าร่วมอบรม

  • นักศึกษาไทยระดับบัณฑิตศึกษาทุกวิทยาเขต
  • อาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  • วิทยากร

  • รองศาสตราจารย์ ดร.สงวน ลือเกียรติบัณฑิต ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร คณะเภสัชศาสตร์
  • คุณศิรินันท์ ศรีอ่อน บัณฑิตวิทยาลัย
  • คุณธีรเดช นพเดช บัณฑิตวิทยาลัย
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และตระหนักในเรื่องการคัดลอกผลงานวิชาการและวรรณกรรม
    2. ลดจำนวนการส่งตรวจผลงานซ้ำ

    ติดต่อสอบถาม : Contact

    ติดต่อสอบถาม

    1. คุณสมศรี หลีวิจิตร อีเมล์ : somsri.l@psu.ac.th โทร. 0-7428-6983
    2. คุณพรพิมล ทองฉิม อีเมล์ : phonpimon.d@psu.ac.th โทร. 0-7428-6996
    เพิ่มเพื่อน
    Graduate School, Prince of Songkla University ©2015 Allrights reserved
    10th-11th Floor, Building 2, Learning Resources Center,
    Prince of Songkla University, Hat Yai campus, Hat Yai, Songkhla 90112 Thailand
    Tel.+66 0-7428-6983 E-mail : grad@group.psu.ac.th